Brownie
ฝรั่งเป็นชาติที่นิยมชมชอบบริโภคขนมอบ ชนิดต่างๆ มาก ประกอบกับ ช่วงสภาพอากาศหนาวเย็นกินระยะเวลาที่ยาวนาน
คุณแม่บ้านส่วนใหญ่ จึงมักเข้าครัวอบขนมอุ่นๆ จากเตาให้สมาชิกในครอบครัวได้กินร่วมกัน ขนมอบสุดคลาสสิกที่มีมาแต่นมนาน ได้แก่ เค้ก คุกกี้ และขนมปัง
แต่ในยุคหลังๆมีน้องใหม่อย่าง บราวนี่ พัฟ และพาย มาช่วยเพิ่มสีสันความหลากหลาย
บราวนี่ (brownie) ขนมชิ้นสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลเข้ม ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของคุกกี้
ภาษาอังกฤษเรียกว่า sheet cookies หรือ คุกกี้แผ่น ที่มีลักษณะคล้ายเค้กช็อกโกแลตเข้มข้น แต่เนื้อแน่นกว่ามากและไม่เบาฟูเหมือนอย่างเค้ก นัยว่าเพราะใส่ผงฟูน้อย ขนมเค้กส่วนใหญ่นั้นเป็นก้อนกลม
แต่บราวนี่กลับเป็นเค้กช็อกโกแลตที่อบในถาดแบนรูปสี่เหลี่ยมสูง 1 นิ้วกว่าๆ แล้วตัดแบ่งเป็นชิ้นลักษณะสี่เหลี่ยม ขนาดพอเหมาะ เอกลักษณ์ของบราวนี่ก็อยู่ตรงที่เนื้อแน่นและเป็นเค้กตัดนี่แหละ
แม้ว่าที่มาของบราวนี่จะไม่ชัดเจน แต่นักประวัติศาสตร์อาหารสันนิษฐานว่า เจ้าขนมรูปทรงสี่เหลี่ยมนี้เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นที่แรกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 กล่าวกันว่า
บราวนี่เกิดจากความบังเอิญในการทำเค้กช็อกโกแลตโดยลืมใส่ผงฟู อบออกมาแล้วเค้กไม่ขึ้นฟู แต่กลับได้ขนมสีน้ำตาลเข้มเนื้อแน่น อันเป็นที่มาของชื่อ “brownie” นั่นเอง นับได้ว่า " ความหลงลืม ความผิดพลาดเป็นปัจจัยผลักดันความก้าวหน้า " ให้ขนมชนิดนี้ถือกำเนิดขึ้นบนโลก
ชื่อของ brownie ปรากฏขึ้นครั้งแรกบนสื่อสิ่งพิมพ์ใน Sears, Roebuck and Company Catalog เมื่อปี ค.ศ.1897
ต่อมาไม่นานก็พบว่ามีสูตรการทำบราวนี่ตามตำราอาหารต่างๆด้วย อาทิเช่น Boston Cooking-School Cook Book, The Joy of Cooking จนคนรู้จักบราวนี่แพร่หลายขึ้น เป็นที่นิยมทำกินกันตั้งแต่ ค.ศ.1920 เป็นต้นมา
ingiiz zo haru
วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553
Wagashi ขนมขึ้นชื่อของญี่ปุ่น
วากาชิ (Wagashi) ขนมหวานญี่ปุ่น
ขนมหวานญี่ปุ่นเรียกรวมกันว่า "วากาชิ" (Wagashi) มีมานานตั้งแต่สมัยนะระหรือประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว แต่เฟื่องฟูสุดๆในช่วงเอโดะ (ปี ค.ศ. 1603-1867) โดยเฉพาะในเมืองเกียวโตและโตเกียว แต่ละร้านแข่งกันขายแข่งกันคิดขนมใหม่ๆจนกลายเป็นต้นตำรับของขนมญี่ปุ่น
ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นขนมหวานประจำชาติ แต่ชาวญี่ปุ่นก็ไม่ได้กินวากาชิกันบ่อยๆ ประเภทกินตบท้ายมื้ออาหารแบบบ้านเรานั้นไม่มี เพราะเขานิยมกินผลไม้กันมากกว่า ส่วนวากาชินี้จะกินเป็นของว่างและในโอกาสพิเศษเมื่อมีพิธีการต่างๆเช่น พิธีแต่งงาน หรือพิธีชงชา
แรงบันดาลใจของพ่อครัวแม่ครัวในการสร้างสรรค์ขนมวากาชินั้นก็ได้มาจากธรรมชาติ ต้นไม้ ดอกไม้ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น ฤดูใบไม้ร่วงจะทำขนมคิคุโกะโระโมะรูปดอกเบญจมาศ ส่วนฤดูหนาวก็ทำยูคิโมจิ หรือโมจิหิมะ เป็นต้น
มาถึงการแบ่งประเภทของวากาชิกันบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้แบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจนเพราะขนมแต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ถ้าแยกตามวัตถุดิบและวิธีทำก็พอจะแบ่งแบบกว้างๆได้ตามนี้
โจ นะมะกะชิ (Jyo-Namagashi)
ขนมญี่ปุ่นส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เป็นแป้งห่อไส้ถั่วแดงบดหรือ "อัน" (An) แป้งที่นำมาห่อหุ้มมีทั้งแป้งท้าวยายม่อม แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า ปั้นเป็นรูปทรงต่างๆทั้งดอกไม้ ผลไม้ พระจันทร์ ซึ่งจะออกแบบให้เข้ากับฤดูกาล ทั้งชื่อขนม ส่วนผสม รูปทรงและสีสัน เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้ผู้คนได้รู้ว่าฤดูกาลใหม่กำลังจะมาเยือน ตัวอย่างเช่น ซากุระโมจิ (โมจิสีชมพูห่อด้วยใบซากุระ) ซึ่งจะออกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
ฮิงะชิ (Higashi)
เป็นขนมแบบแห้ง เก็บไว้ได้นาน ทำจากแป้งข้าวเหนียว น้ำตาล และวาซัมบงโตะ (Wasambon-to) น้ำตาลผงที่ทำด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิมผสมกันแล้วนำมาอัดในพิมพ์ ได้ขนมที่ผิวเป็นแป้งแห้งๆคล้ายขนมโก๋ เสิร์ฟในพิธีชงชา
เซมเบ้ (Sembei)
เป็นข้าวเกรียบสีน้ำตาล เคี้ยวกรุบกรอบ มีหลากรูปร่างหลายขนาด (ใหญ่ที่สุดที่เคยเห็นก็ขนาดเท่าแผ่นเสียง) แต่แบบยอดฮิตคือทรงกลมแบนเหมือนที่รองแก้ว ทำจากข้าวเหนียวนำมาปิ้ง แต่งรสด้วยโชยุและเกลือเป็นหลัก ราดหน้าด้วยงา สาหร่าย พริก เพิ่มกลิ่น เพิ่มรสให้อร่อยกันได้หลายแบบ นอกจากนี้ยังมีเซมเบ้แบบหวานหรือซาราเมะ เซมเบ้ (Sarame Sembei) ทำจากแป้งสาลี น้ำตาลและกลูโคส
โนะนะกะ (Monaka)
คือเวเฟอร์ไส้ถั่วแดง มีทั้งถั่วบดและแบบเต็มเม็ด ประกบด้วยแผ่นแป้งบางกรอบทำจากข้าวเหนียว ทำเป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยมดอกซากุระ และอีกสารพัดรูปแล้วแต่จะสร้างสรรค์ โดดเด่นที่ความกรอบกับความนิ่มผสานกับรสหวานๆมันๆ นอกจากไส้ถั่วแดงแล้วยังมีไส้ชาเขียวและถั่วอื่นๆด้วย
โยคัง (Yokan)
ใช้ส่วนผสมหลักคือวุ้นที่ได้จากสาหร่าย เรียกว่า คันเตน (Kanten) แบ่งได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ มิซุ โยคัง เป็นวุ้นใสๆแช่เย็น กินในฤดร้อนผสมผลไม้ลงไป ได้รสหวานเย็น หอมชื่นใจ อีกชนิดคือ มุชิ โยคัง เป็นวุ้นขุ่นๆ เนื้อนิ่มเหนียว ตัดเป็นชิ้นเหลี่ยมพอคำ ทำจากถั่ว เกาลัด หรือมันที่บดละเอียด แป้งสาลี น้ำตาล และคันเตน
มันจู (Manjyu)
เป็นขนมกลมๆแป้งด้านนอกที่ห่อทำจากแป้งมันเทศ (บางครั้งใช้แป้งโซบะ) ไส้เป็นถั่วบดและมีมันเทศหรือเกาลัดอยู่ตรงกลางไส้อีกที นำไปนึ่ง อบหรือย่าง จึงได้ขนมอร่อยโดยเฉพาะขนมโมมิจิมันจูที่เมืองมิยาจิมาโดดเด่นที่ห่อด้วยใบเมเปิล มีหลายไ ส้ทั้งถั่วแดงบด คัสตาร์ด ช็อคโกแลต ถือเป็นของเนของดังที่ไม่ว่าใครไปเยือนก็ต้องลองชิม
ดังโกะ (Dango)
มีเป็นสิบสูตร แต่ที่หน้าตาเหมือนลูกชิ้นเสียบไม้ที่เราเคยเห็นกันเรียกว่า คุชิ ดังโกะ ทำจากแป้งโมจิ บางครั้งก็ผสมเต้าหู้ลงไปในแป้งด้วย ปั้นเป็นลูกกลม เสียบไม้แล้วนำไปปิ้ง ได้ลูกชิ้นแป้งนุ่มๆเหนียวๆราดซอสโชยุ ซอสเต้าเจี้ยว หรือเกาลัดบด หรือจะโรยด้วยถั่วบดกับน้ำตาลทรายแดงก็เข้าท่า
ไดฟุกุ (Daifuku)
คนไทยเราชอบเรียกว่าโมจิไส้ถั่วแดง แต่จริงๆเขาเรียกขนมประเภทนี้ว่าไดฟุกุ แป้งด้าน นอกทำจากแป้งข้าวเหนียวนึ่งที่นำมาตีจนเหนียว (โมจิ) มีสีขาว เขียวและชมพู ส่วนไส้ก็เป็นถั่วแดง ที่พิเศษก็จะใส่ผลไม้ลงไป เช่น อิจิโกะ ไดฟุกุ (Ichigo Daifuku) เป็นโมจิไส้ลูกสตรอร์เบอร์รี่หอมหวาน อร่อยจับใจ นอกจากนั้นยังมีไส้เมลอนบดและไอศกรีมรสต่างๆด้วย
ไทยะกิ (Tai Yaki)
ขนมหน้าตาน่ารักรูปปลาตัวเท่าผ่ามือ เป็นขนมที่จำลองรูปแบบของปลากะพงแดง เรียกอีกชื่อว่า "แพนเค้กญี่ปุ่น" เนื้อแป้งแน่นและเหนียวนุ่ม นอกจากไส้ถั่วแดงมาตรฐานแล้วก็มีไส้เกาลัด ไส้มันหวานและอีกสารพัดไส้ รูปทรงก็มีสารพัดรูปเช่นกัน ทั้งรูปตุ๊กตา รูปกลมๆ แบนๆ ที่เรียกว่า อิมะกะวะ ยะกิ และที่เรารู้จักกันดีที่สุด โดรายากิ ขนมสุดโปรดของโดราเอมอนที่เป็นรูปฆ้องนั่นเอง
ได้รู้จักวากาชิหลายแบบหลากรสไปแล้ว ถ้าวันไหนเบื่อขนมแบบเดิมๆที่กินอยู่ลองเปลี่ยนบรรยากาศมากินขนมญี่ปุ่นแกล้มชาเขียว แนะนำให้เลือกชารสเข้มออกขมสักหน่อยจะช่วยตัดความหวานจัดของขนมให้เหลือแค่หวานพอดีๆ...ไม่แน่นะวากาชิอาจกลายเป็นขนมสุดโปรดของคุณ
ขนมหวานญี่ปุ่นเรียกรวมกันว่า "วากาชิ" (Wagashi) มีมานานตั้งแต่สมัยนะระหรือประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว แต่เฟื่องฟูสุดๆในช่วงเอโดะ (ปี ค.ศ. 1603-1867) โดยเฉพาะในเมืองเกียวโตและโตเกียว แต่ละร้านแข่งกันขายแข่งกันคิดขนมใหม่ๆจนกลายเป็นต้นตำรับของขนมญี่ปุ่น
ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นขนมหวานประจำชาติ แต่ชาวญี่ปุ่นก็ไม่ได้กินวากาชิกันบ่อยๆ ประเภทกินตบท้ายมื้ออาหารแบบบ้านเรานั้นไม่มี เพราะเขานิยมกินผลไม้กันมากกว่า ส่วนวากาชินี้จะกินเป็นของว่างและในโอกาสพิเศษเมื่อมีพิธีการต่างๆเช่น พิธีแต่งงาน หรือพิธีชงชา
แรงบันดาลใจของพ่อครัวแม่ครัวในการสร้างสรรค์ขนมวากาชินั้นก็ได้มาจากธรรมชาติ ต้นไม้ ดอกไม้ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น ฤดูใบไม้ร่วงจะทำขนมคิคุโกะโระโมะรูปดอกเบญจมาศ ส่วนฤดูหนาวก็ทำยูคิโมจิ หรือโมจิหิมะ เป็นต้น
มาถึงการแบ่งประเภทของวากาชิกันบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้แบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจนเพราะขนมแต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ถ้าแยกตามวัตถุดิบและวิธีทำก็พอจะแบ่งแบบกว้างๆได้ตามนี้
โจ นะมะกะชิ (Jyo-Namagashi)
ขนมญี่ปุ่นส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เป็นแป้งห่อไส้ถั่วแดงบดหรือ "อัน" (An) แป้งที่นำมาห่อหุ้มมีทั้งแป้งท้าวยายม่อม แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า ปั้นเป็นรูปทรงต่างๆทั้งดอกไม้ ผลไม้ พระจันทร์ ซึ่งจะออกแบบให้เข้ากับฤดูกาล ทั้งชื่อขนม ส่วนผสม รูปทรงและสีสัน เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้ผู้คนได้รู้ว่าฤดูกาลใหม่กำลังจะมาเยือน ตัวอย่างเช่น ซากุระโมจิ (โมจิสีชมพูห่อด้วยใบซากุระ) ซึ่งจะออกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
ฮิงะชิ (Higashi)
เป็นขนมแบบแห้ง เก็บไว้ได้นาน ทำจากแป้งข้าวเหนียว น้ำตาล และวาซัมบงโตะ (Wasambon-to) น้ำตาลผงที่ทำด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิมผสมกันแล้วนำมาอัดในพิมพ์ ได้ขนมที่ผิวเป็นแป้งแห้งๆคล้ายขนมโก๋ เสิร์ฟในพิธีชงชา
เซมเบ้ (Sembei)
เป็นข้าวเกรียบสีน้ำตาล เคี้ยวกรุบกรอบ มีหลากรูปร่างหลายขนาด (ใหญ่ที่สุดที่เคยเห็นก็ขนาดเท่าแผ่นเสียง) แต่แบบยอดฮิตคือทรงกลมแบนเหมือนที่รองแก้ว ทำจากข้าวเหนียวนำมาปิ้ง แต่งรสด้วยโชยุและเกลือเป็นหลัก ราดหน้าด้วยงา สาหร่าย พริก เพิ่มกลิ่น เพิ่มรสให้อร่อยกันได้หลายแบบ นอกจากนี้ยังมีเซมเบ้แบบหวานหรือซาราเมะ เซมเบ้ (Sarame Sembei) ทำจากแป้งสาลี น้ำตาลและกลูโคส
โนะนะกะ (Monaka)
คือเวเฟอร์ไส้ถั่วแดง มีทั้งถั่วบดและแบบเต็มเม็ด ประกบด้วยแผ่นแป้งบางกรอบทำจากข้าวเหนียว ทำเป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยมดอกซากุระ และอีกสารพัดรูปแล้วแต่จะสร้างสรรค์ โดดเด่นที่ความกรอบกับความนิ่มผสานกับรสหวานๆมันๆ นอกจากไส้ถั่วแดงแล้วยังมีไส้ชาเขียวและถั่วอื่นๆด้วย
โยคัง (Yokan)
ใช้ส่วนผสมหลักคือวุ้นที่ได้จากสาหร่าย เรียกว่า คันเตน (Kanten) แบ่งได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ มิซุ โยคัง เป็นวุ้นใสๆแช่เย็น กินในฤดร้อนผสมผลไม้ลงไป ได้รสหวานเย็น หอมชื่นใจ อีกชนิดคือ มุชิ โยคัง เป็นวุ้นขุ่นๆ เนื้อนิ่มเหนียว ตัดเป็นชิ้นเหลี่ยมพอคำ ทำจากถั่ว เกาลัด หรือมันที่บดละเอียด แป้งสาลี น้ำตาล และคันเตน
มันจู (Manjyu)
เป็นขนมกลมๆแป้งด้านนอกที่ห่อทำจากแป้งมันเทศ (บางครั้งใช้แป้งโซบะ) ไส้เป็นถั่วบดและมีมันเทศหรือเกาลัดอยู่ตรงกลางไส้อีกที นำไปนึ่ง อบหรือย่าง จึงได้ขนมอร่อยโดยเฉพาะขนมโมมิจิมันจูที่เมืองมิยาจิมาโดดเด่นที่ห่อด้วยใบเมเปิล มีหลายไ ส้ทั้งถั่วแดงบด คัสตาร์ด ช็อคโกแลต ถือเป็นของเนของดังที่ไม่ว่าใครไปเยือนก็ต้องลองชิม
ดังโกะ (Dango)
มีเป็นสิบสูตร แต่ที่หน้าตาเหมือนลูกชิ้นเสียบไม้ที่เราเคยเห็นกันเรียกว่า คุชิ ดังโกะ ทำจากแป้งโมจิ บางครั้งก็ผสมเต้าหู้ลงไปในแป้งด้วย ปั้นเป็นลูกกลม เสียบไม้แล้วนำไปปิ้ง ได้ลูกชิ้นแป้งนุ่มๆเหนียวๆราดซอสโชยุ ซอสเต้าเจี้ยว หรือเกาลัดบด หรือจะโรยด้วยถั่วบดกับน้ำตาลทรายแดงก็เข้าท่า
ไดฟุกุ (Daifuku)
คนไทยเราชอบเรียกว่าโมจิไส้ถั่วแดง แต่จริงๆเขาเรียกขนมประเภทนี้ว่าไดฟุกุ แป้งด้าน นอกทำจากแป้งข้าวเหนียวนึ่งที่นำมาตีจนเหนียว (โมจิ) มีสีขาว เขียวและชมพู ส่วนไส้ก็เป็นถั่วแดง ที่พิเศษก็จะใส่ผลไม้ลงไป เช่น อิจิโกะ ไดฟุกุ (Ichigo Daifuku) เป็นโมจิไส้ลูกสตรอร์เบอร์รี่หอมหวาน อร่อยจับใจ นอกจากนั้นยังมีไส้เมลอนบดและไอศกรีมรสต่างๆด้วย
ไทยะกิ (Tai Yaki)
ขนมหน้าตาน่ารักรูปปลาตัวเท่าผ่ามือ เป็นขนมที่จำลองรูปแบบของปลากะพงแดง เรียกอีกชื่อว่า "แพนเค้กญี่ปุ่น" เนื้อแป้งแน่นและเหนียวนุ่ม นอกจากไส้ถั่วแดงมาตรฐานแล้วก็มีไส้เกาลัด ไส้มันหวานและอีกสารพัดไส้ รูปทรงก็มีสารพัดรูปเช่นกัน ทั้งรูปตุ๊กตา รูปกลมๆ แบนๆ ที่เรียกว่า อิมะกะวะ ยะกิ และที่เรารู้จักกันดีที่สุด โดรายากิ ขนมสุดโปรดของโดราเอมอนที่เป็นรูปฆ้องนั่นเอง
ได้รู้จักวากาชิหลายแบบหลากรสไปแล้ว ถ้าวันไหนเบื่อขนมแบบเดิมๆที่กินอยู่ลองเปลี่ยนบรรยากาศมากินขนมญี่ปุ่นแกล้มชาเขียว แนะนำให้เลือกชารสเข้มออกขมสักหน่อยจะช่วยตัดความหวานจัดของขนมให้เหลือแค่หวานพอดีๆ...ไม่แน่นะวากาชิอาจกลายเป็นขนมสุดโปรดของคุณ
พุดดิ้ง ขนมบวมเป่ง เต่งตึง
ต้นกำเนิดพุดดิ้ง
ต้องขอย้อนไปเมื่อสมัย ศตวรรษที่ 15-16 ซึ่งเป็นสมัยที่คนเชื่อว่าโลกกลม ทำให้มีการออกสำรวจดินแดนใหม่สำหรับนักเดินทางยุคต้น ๆ ของศตวรรษ ในสมัยนั้นประเทศสเปนและอังกฤษซึ่งเป็นประเทศผู้นำในการเดินทางสำรวจและยึดครองดินแดนใหม่กันอย่างคับคั่ง ในช่วงนั้นประเทศอังกฤษสามารถเอาชนะและยึดครองดินแดนและชายฝั่งทะเลได้ถึง 7 แห่ง แต่ความราบรื่นนั้นย่อมแฝงไปด้วยความขมขื่นเสมอ
เรือรบของอังกฤษที่เข้าร่วมสงครามครอบครองดินแดนนั้นประสบปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของลูกเรือขึ้น เพราะการออกเดินทางแต่ละครั้งจะต้องใช้เวลาอยู่กับท้องทะเลนานหลายเดือน อาหารที่มีอยู่ก็ร่อยหรอ มิหนำซ้ำ บางครั้งอาหารที่ทำจะเหลือทิ้งไปเปล่าประโยชน์เพราะใช้ทานในวันต่อไปไม่ได้ก็ตาม จำเป็นต้องทิ้ง เหตุนั้นเอง พ่อครัวหัวใสจึงคิดเมนูที่สามารถทำแล้วถนอมอาหารไว้ทานได้เป็นเวลานาน โดยเค้าใช้ส่วนผสมง่าย ๆ คือ เศษขนมปัง แป้งสาลี และไข่ไก่ ผสมให้เข้ากัน จากนั้นก็ห่อด้วยผ้าสะอาด นำไปอบ เป็นอันเสร็จ ตรงกับ concept (ง่าย ๆ กินได้หลายวัน) และนั่นเองเป็นเหตุที่มาของตำนาน “พุดดิ้ง” จากข้อมูลนั้นไม่ได้บอกอย่างละเอียดว่าทำไมพุดดิ้งถึงสามารถแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปได้ เพราะเจ้าของสูตรต้นตำรับเป็นพ่อครัวบนเรือ แต่จากการสันนิษฐานแล้ว คงจะเป็นเพราะรสชาติที่ถูกปาก และทานได้ง่าย ทำให้ลูกเรือติดอกติดใจ และจำสูตรนั้นไปบอกต่อให้กับคุณแม่บ้าน ปากต่อปาก อีกทั้งรสชาติยังเป็นที่นิยม ทำให้พุดดิ้ง แพร่หลายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จากเกียรติศัพท์ของความอร่อยและวิธีทำที่ไม่ซับซ้อนนี้เอง พุดดิ้งจึงขยายความนิยมไปทางแถบเอเชียของเราและที่ประเทศญี่ปุ่น พุดดิ้ง ได้รับความสนใจในช่วงยุคสมัยเมจิ (พ.ศ.2411-2455) ถ้าหากเทียบกับสมัยของประเทศไทยแล้วก็คือ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นั่นเอง
ทำไมถึงมีชื่อเรียกว่า พุดดิ้ง(Pudding)
ตามรากศัพท์ของภาษาอังกฤษในยุคโบราณ จะเรียกว่า puduc ซึ่งแปลว่า ของที่มีรูปร่าง ลักษณะบวมเป่ง เต่งตึง ซึ่งตรงกับรูปลักษณ์ของเจ้าพุดดิ้ง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียก ซึ่งแปลจากภาษาอังกฤษในยุคกลาง คือ podding คำนี้มาจากลักษณะของพุดดิ้ง ที่ไปตรงกับลักษณะของไส้กรอกชนิดหนึ่ง จึงเรียกเป็นคำเดียวกัน และคำปัจจุบันที่ใช้เรียกคือ pudding คำนี้จะใช้เรียกประเภทอาหารที่ทำโดยการอบทุกชนิด ถัดจากนั้นมาจึงมีการคิดเมนูใหม่ ๆ ของอาหารที่ทำด้วยการอบหลายชนิด แต่ยังคงใช้คำว่า pudding ต่อท้ายในเมนูหลาย ๆ ชนิด ตัวอย่างเช่น rice-pudding , bread and butter-pudding, black-pudding , chocolate-pudding ฯลฯ และพุดดิ้งก็ยังใช้เป็นเมนูหลักไปจนถึง ของหวาน อีกด้วย
ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ผู้คนเค้าก็เรียกว่า pudding กันล่ะคับ แต่ว่าด้วยความผิดแผกของสำเนียง และการส่งต่อทางภาษาเอง ทำให้คำว่า pudding นั้นเปลี่ยนแปลงไปเป็น podding บ้าง และอีกหลาย ๆ คำ แต่ท้ายที่สุดผู้คนเค้าก็ใช้คำว่า “พูริง (puring)” ซึ่งเป็นคำที่เรียกง่าย และตรงความหมายกับหน้าตาของพุดดิ้งที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน ซึ่งเป็นพุดดิ้งชนิดหนึ่งที่เรียกว่า custard-pudding
ส่วนประกอบของพุดดิ้ง
ถ้าหากเราจะทำพุดดิ้งให้ตามสูตรของประเทศต้นตำรับคือประเทศอังกฤษแล้วล่ะก็ จะต้องเตรียมส่วนผสมดังนี้คือ แป้งสาลี ข้าว น้ำมันหมู เนื้อ ไข่ไก่ นม เนย ผลไม้ และของที่เราชอบ ใส่ลงไปผสมกัน จากนั้นเติมน้ำตาล เกลือ ตามด้วยเครื่องปรุงรส และแต่งกลิ่นตามชอบใจ เสร็จแล้วนำไปนึ่ง และอบให้พอดีเป็นอันเสร็จพร้อมเสริฟ
สำหรับรูปร่างหน้าตาและรสชาติที่ออกมาจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ไม่สามารถรับประกันได้แต่สูตรที่ได้มารับรองว่าเป็นต้นตำรับจากเมืองผู้ดีแน่นอนค่ะ ถ้าหากใครมีความสนใจ และมีเวลาว่าง สามารถนำสูตรนี้ไปลองทำทานได้ ยิ่งถ้าหากเป็นคุณแม่บ้านด้วยแล้ว เมนูพุดดิ้งของเราอาจจะทำให้คุณพ่อบ้านถูกอกถูกใจ จนทำให้ไม่ออกไปทานอาหารนอกบ้านเลยก็เป็นได้ค่ะ
ต้องขอย้อนไปเมื่อสมัย ศตวรรษที่ 15-16 ซึ่งเป็นสมัยที่คนเชื่อว่าโลกกลม ทำให้มีการออกสำรวจดินแดนใหม่สำหรับนักเดินทางยุคต้น ๆ ของศตวรรษ ในสมัยนั้นประเทศสเปนและอังกฤษซึ่งเป็นประเทศผู้นำในการเดินทางสำรวจและยึดครองดินแดนใหม่กันอย่างคับคั่ง ในช่วงนั้นประเทศอังกฤษสามารถเอาชนะและยึดครองดินแดนและชายฝั่งทะเลได้ถึง 7 แห่ง แต่ความราบรื่นนั้นย่อมแฝงไปด้วยความขมขื่นเสมอ
เรือรบของอังกฤษที่เข้าร่วมสงครามครอบครองดินแดนนั้นประสบปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของลูกเรือขึ้น เพราะการออกเดินทางแต่ละครั้งจะต้องใช้เวลาอยู่กับท้องทะเลนานหลายเดือน อาหารที่มีอยู่ก็ร่อยหรอ มิหนำซ้ำ บางครั้งอาหารที่ทำจะเหลือทิ้งไปเปล่าประโยชน์เพราะใช้ทานในวันต่อไปไม่ได้ก็ตาม จำเป็นต้องทิ้ง เหตุนั้นเอง พ่อครัวหัวใสจึงคิดเมนูที่สามารถทำแล้วถนอมอาหารไว้ทานได้เป็นเวลานาน โดยเค้าใช้ส่วนผสมง่าย ๆ คือ เศษขนมปัง แป้งสาลี และไข่ไก่ ผสมให้เข้ากัน จากนั้นก็ห่อด้วยผ้าสะอาด นำไปอบ เป็นอันเสร็จ ตรงกับ concept (ง่าย ๆ กินได้หลายวัน) และนั่นเองเป็นเหตุที่มาของตำนาน “พุดดิ้ง” จากข้อมูลนั้นไม่ได้บอกอย่างละเอียดว่าทำไมพุดดิ้งถึงสามารถแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปได้ เพราะเจ้าของสูตรต้นตำรับเป็นพ่อครัวบนเรือ แต่จากการสันนิษฐานแล้ว คงจะเป็นเพราะรสชาติที่ถูกปาก และทานได้ง่าย ทำให้ลูกเรือติดอกติดใจ และจำสูตรนั้นไปบอกต่อให้กับคุณแม่บ้าน ปากต่อปาก อีกทั้งรสชาติยังเป็นที่นิยม ทำให้พุดดิ้ง แพร่หลายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จากเกียรติศัพท์ของความอร่อยและวิธีทำที่ไม่ซับซ้อนนี้เอง พุดดิ้งจึงขยายความนิยมไปทางแถบเอเชียของเราและที่ประเทศญี่ปุ่น พุดดิ้ง ได้รับความสนใจในช่วงยุคสมัยเมจิ (พ.ศ.2411-2455) ถ้าหากเทียบกับสมัยของประเทศไทยแล้วก็คือ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นั่นเอง
ทำไมถึงมีชื่อเรียกว่า พุดดิ้ง(Pudding)
ตามรากศัพท์ของภาษาอังกฤษในยุคโบราณ จะเรียกว่า puduc ซึ่งแปลว่า ของที่มีรูปร่าง ลักษณะบวมเป่ง เต่งตึง ซึ่งตรงกับรูปลักษณ์ของเจ้าพุดดิ้ง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียก ซึ่งแปลจากภาษาอังกฤษในยุคกลาง คือ podding คำนี้มาจากลักษณะของพุดดิ้ง ที่ไปตรงกับลักษณะของไส้กรอกชนิดหนึ่ง จึงเรียกเป็นคำเดียวกัน และคำปัจจุบันที่ใช้เรียกคือ pudding คำนี้จะใช้เรียกประเภทอาหารที่ทำโดยการอบทุกชนิด ถัดจากนั้นมาจึงมีการคิดเมนูใหม่ ๆ ของอาหารที่ทำด้วยการอบหลายชนิด แต่ยังคงใช้คำว่า pudding ต่อท้ายในเมนูหลาย ๆ ชนิด ตัวอย่างเช่น rice-pudding , bread and butter-pudding, black-pudding , chocolate-pudding ฯลฯ และพุดดิ้งก็ยังใช้เป็นเมนูหลักไปจนถึง ของหวาน อีกด้วย
ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ผู้คนเค้าก็เรียกว่า pudding กันล่ะคับ แต่ว่าด้วยความผิดแผกของสำเนียง และการส่งต่อทางภาษาเอง ทำให้คำว่า pudding นั้นเปลี่ยนแปลงไปเป็น podding บ้าง และอีกหลาย ๆ คำ แต่ท้ายที่สุดผู้คนเค้าก็ใช้คำว่า “พูริง (puring)” ซึ่งเป็นคำที่เรียกง่าย และตรงความหมายกับหน้าตาของพุดดิ้งที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน ซึ่งเป็นพุดดิ้งชนิดหนึ่งที่เรียกว่า custard-pudding
ส่วนประกอบของพุดดิ้ง
ถ้าหากเราจะทำพุดดิ้งให้ตามสูตรของประเทศต้นตำรับคือประเทศอังกฤษแล้วล่ะก็ จะต้องเตรียมส่วนผสมดังนี้คือ แป้งสาลี ข้าว น้ำมันหมู เนื้อ ไข่ไก่ นม เนย ผลไม้ และของที่เราชอบ ใส่ลงไปผสมกัน จากนั้นเติมน้ำตาล เกลือ ตามด้วยเครื่องปรุงรส และแต่งกลิ่นตามชอบใจ เสร็จแล้วนำไปนึ่ง และอบให้พอดีเป็นอันเสร็จพร้อมเสริฟ
สำหรับรูปร่างหน้าตาและรสชาติที่ออกมาจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ไม่สามารถรับประกันได้แต่สูตรที่ได้มารับรองว่าเป็นต้นตำรับจากเมืองผู้ดีแน่นอนค่ะ ถ้าหากใครมีความสนใจ และมีเวลาว่าง สามารถนำสูตรนี้ไปลองทำทานได้ ยิ่งถ้าหากเป็นคุณแม่บ้านด้วยแล้ว เมนูพุดดิ้งของเราอาจจะทำให้คุณพ่อบ้านถูกอกถูกใจ จนทำให้ไม่ออกไปทานอาหารนอกบ้านเลยก็เป็นได้ค่ะ
Cake ขนมอบแสนอร่อย
Cake มีรากศัพท์มาจากภาษาของชาวไวกิ้ง (Old Norse word) ว่า "kaka" ประวัติเริ่มจากปี 1843 คุณอัลเฟรดเบิร์ด (Alfred Bird 1811-1878) นักเคมีชาวอังกฤษ ได้ค้นพบ "ผงฟู" หรือ"baking powder"ทำให้เขาสามารถทำขนมปังชนิดที่ไม่มียีสต์ให้กับภรรยาของเขาคือ อลิซาเบธ (Elizabeth) ได้เป็นครั้งแรก เนื่องจากภรรยาของเขานั้น เป็นโรคภูมิแพ้เกี่ยวกับ ..ไข่ และ ยีสต์...
ย้อนหลังจากวันนี้ไปประมาณ 60 ปี ธุรกิจขนมอบไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน จนไม่อาจเรียกว่าเป็นธุรกิจได้ ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ ก็ไม่ได้เป็นที่คุ้นเคยของทุกคนทั่วไป จะมีก็เพียงคนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับอารยธรรมตะวันตกมาก่อนและผู้ที่มีความใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยที่รู้จักขนมอบ และมีร้านขนมอบเพียงไม่กี่ร้าน เช่น ร้านมอนโลเฮียงเบเกอรี่ ย่านถนนเจริญกรุงเท่านั้น เพราะธุรกิจขนมอบในสมัยนั้นแคบมาก ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ต่อมาคนไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ เริ่มรู้จักขนมอบมากขึ้นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลงประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักของประเทศต่างๆมีการติดต่อค้าขายที่ธุรกิจกับต่างประเทศมากขึ้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาเมืองไทย ทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวทำให้ธุรกิจการโรงแรมของประเทศไทยขยายตัวจึงต้องผลิตอาหารประเภทขนมอบชนิดต่าง ๆ ขึ้น เช่นขนมปัง เค้ก เพสตรี้ เพื่อบริการลูกค้าชาวต่างประเทศที่ไม่คุ้นเคยอาหารไทยและนอกจากจะผลิตเพื่อบริการลูกค้าแล้วโรงแรมยังมีบริการรับจัดเลี้ยง ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน โดยมีการจัดประชุมสัมมนา งานพิธีมงคลสมรส งานวันเกิด และการจัดเลี้ยงสังสรรค์
ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์ขนมอบจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีร้านเบเกอรี่ที่ผลิตขนมปัง ขนมเค้ก ขนมต่าง ๆ ออกขาย ธุรกิจ ขนมอบเริ่มจัดว่าเป็นธุรกิจได้เมื่อสมัยสงครามเวียดนาม ประมาณ 30 กว่าปีมาแล้วประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นที่พักของทหารอเมริกันระยะนี้กิจการขนมอบเริ่มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากความต้องการอาหารประเภทนี้สูงจนถึงกับมีผู้คิดโรงโม้แป้งสาลีขึ้นในประเทศไทยคือบริษัทยูไนเต็ดพลาวมิล์ ได้ผลิตแป้งสาลีเพื่อใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ขนมอบ และส่งมาได้มีโรงโม่แป้งสาลีเพิ่มขึ้นอีก 23 แห่งได้แก่บริษัทสยามฟลาวมิลล์ บริษัทแหลมทองสหการ แต่ละโรงไม่ก็ผลิตแป้งสาลียี่ห้อต่าง ๆ ออกจำหน่ายพร้อมกับมีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า จัดการฝึกอบรมแนะนำลูกค้าผู้ใช้แป้งสาลีและผู้ประกอบกิจการขนมอบซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้สามารถนำแป้งไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความถูกต้อง นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แป้งสาลีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง ธุรกิจขนมอบก็ยังดำเนินต่อไป และกับขยายตัวเพิ่มมากขึ้น คนไทยเริ่มบริโภค ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ พาย พัฟ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขนมอบมากขึ้นนักธุรกิจหลายรายได้เริ่มมองเห็นลู่ทางในการลงทุนทำธุรกิจขนมอบนี้ เนื่องจากเห็นว่าผลิตภัณฑ์ขนมอบมากขึ้นนักธุรกิจหลายรายได้เริ่มมองเห็นลู่ทางในการลงทุนทำธุรกิจขนมอบนี้ เนื่องจากเห็นว่าผลิตภัณฑ์ขนมอบได้เข้ามามีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานต่าง ๆ เช่น วิทยาลัยสารพัดช่างวิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนของเอกชนที่เปิดสอนด้านขนมอบ เป็นต้น ได้ช่วยกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนมอบมากขึ้น พร้อมกันมีตำราการฝึกปฏิบัติทำขนมอบ มีประชาชนให้ความสนใจมาฝึกอบรม รับความรู้เพื่อไปประกอบเป็นอาชีพ หรือทำบริโภคเองภายในครอบครัว
ย้อนหลังจากวันนี้ไปประมาณ 60 ปี ธุรกิจขนมอบไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน จนไม่อาจเรียกว่าเป็นธุรกิจได้ ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ ก็ไม่ได้เป็นที่คุ้นเคยของทุกคนทั่วไป จะมีก็เพียงคนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับอารยธรรมตะวันตกมาก่อนและผู้ที่มีความใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยที่รู้จักขนมอบ และมีร้านขนมอบเพียงไม่กี่ร้าน เช่น ร้านมอนโลเฮียงเบเกอรี่ ย่านถนนเจริญกรุงเท่านั้น เพราะธุรกิจขนมอบในสมัยนั้นแคบมาก ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ต่อมาคนไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ เริ่มรู้จักขนมอบมากขึ้นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลงประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักของประเทศต่างๆมีการติดต่อค้าขายที่ธุรกิจกับต่างประเทศมากขึ้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาเมืองไทย ทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวทำให้ธุรกิจการโรงแรมของประเทศไทยขยายตัวจึงต้องผลิตอาหารประเภทขนมอบชนิดต่าง ๆ ขึ้น เช่นขนมปัง เค้ก เพสตรี้ เพื่อบริการลูกค้าชาวต่างประเทศที่ไม่คุ้นเคยอาหารไทยและนอกจากจะผลิตเพื่อบริการลูกค้าแล้วโรงแรมยังมีบริการรับจัดเลี้ยง ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน โดยมีการจัดประชุมสัมมนา งานพิธีมงคลสมรส งานวันเกิด และการจัดเลี้ยงสังสรรค์
ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์ขนมอบจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีร้านเบเกอรี่ที่ผลิตขนมปัง ขนมเค้ก ขนมต่าง ๆ ออกขาย ธุรกิจ ขนมอบเริ่มจัดว่าเป็นธุรกิจได้เมื่อสมัยสงครามเวียดนาม ประมาณ 30 กว่าปีมาแล้วประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นที่พักของทหารอเมริกันระยะนี้กิจการขนมอบเริ่มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากความต้องการอาหารประเภทนี้สูงจนถึงกับมีผู้คิดโรงโม้แป้งสาลีขึ้นในประเทศไทยคือบริษัทยูไนเต็ดพลาวมิล์ ได้ผลิตแป้งสาลีเพื่อใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ขนมอบ และส่งมาได้มีโรงโม่แป้งสาลีเพิ่มขึ้นอีก 23 แห่งได้แก่บริษัทสยามฟลาวมิลล์ บริษัทแหลมทองสหการ แต่ละโรงไม่ก็ผลิตแป้งสาลียี่ห้อต่าง ๆ ออกจำหน่ายพร้อมกับมีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า จัดการฝึกอบรมแนะนำลูกค้าผู้ใช้แป้งสาลีและผู้ประกอบกิจการขนมอบซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้สามารถนำแป้งไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความถูกต้อง นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แป้งสาลีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง ธุรกิจขนมอบก็ยังดำเนินต่อไป และกับขยายตัวเพิ่มมากขึ้น คนไทยเริ่มบริโภค ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ พาย พัฟ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขนมอบมากขึ้นนักธุรกิจหลายรายได้เริ่มมองเห็นลู่ทางในการลงทุนทำธุรกิจขนมอบนี้ เนื่องจากเห็นว่าผลิตภัณฑ์ขนมอบมากขึ้นนักธุรกิจหลายรายได้เริ่มมองเห็นลู่ทางในการลงทุนทำธุรกิจขนมอบนี้ เนื่องจากเห็นว่าผลิตภัณฑ์ขนมอบได้เข้ามามีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานต่าง ๆ เช่น วิทยาลัยสารพัดช่างวิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนของเอกชนที่เปิดสอนด้านขนมอบ เป็นต้น ได้ช่วยกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนมอบมากขึ้น พร้อมกันมีตำราการฝึกปฏิบัติทำขนมอบ มีประชาชนให้ความสนใจมาฝึกอบรม รับความรู้เพื่อไปประกอบเป็นอาชีพ หรือทำบริโภคเองภายในครอบครัว
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
Lollipop ลูกกวาดสีสันสดใส
Miriam Webster Dictionary ได้ให้คำนิยาม Lollipop ว่าเป็นก้อนแข็งของลูกอมที่ติดอยู่ปลายของแท่ง คาดว่ามาจาก ราศัพท์ของ lolly (tongue) ลิ้น + pop สำหรับคนไทยคงคุ้นเคยกับอมยิ้มเป็นอย่างดี แล้วทำไมถึงเป็นชื่อนี้ก็ยังหาคำตอบอยู่เหมือนกัน หรือว่าเวลาอมแล้วแก้มตุ่ยเลยดูเหมือนกำลังยิ้มก็ไม่รู้
อมยิ้มอันแรกนั้นตาม National Confectionary Association คาดว่าเกิดจากคนถ้ำที่ใช้แท่งเก็บรวมน้ำผึ้ง โดยไม่ต้องการทิ้งน้ำผึ้งไป และชอบใช้วิธีการเลียภาชนะ นั่นจึงทำให้ก้อนลูกอมติดบนแท่งถือกำเนิดขึ้น
ตามรายงานบอกว่าชาวอาหรับ จีนและอียิปต์โบราณรู้จักวิธีการนำผลไม้และถั่วมาเคลือบน้ำผึ้ง ที่เรียกว่า "candied" เพื่อเป็นถนอมผลไม้ไว้กินได้นานๆ และแท่งไม้ก็เริ่มมีส่วนในการช่วยให้การกินง่ายขึ้นนั่นเอง
ในยุคกลางของยุโรปน้ำตาลมีคุณค่าและราคาแพงเพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้จึงมีการต้มน้ำตาลและทำให้อยู่ในรูปก้อนแข็ง และทำให้ง่ายในการกินและดูหรูหราโดยการเสียบเป็นแท่ง จนถึงในศตวรรตที่ 17 ที่น้ำตาลมีเยอะและหาได้ง่าย มีการนำน้ำผลไม้มาผลิตเป็นลูกอม เจ้าของ McAviney Candy Company พยายามที่นำลูกอมแข็งๆ ติดกับแท่งไม้เพื่อให้ลูกของเขา
ในปี 1908 George Smith ได้ให้ชื่อลูกอมแข็งๆติดกับแท่งไม้ว่า" Lollipop" และได้รับความชื่นชอบ ในปีเดียวกันนั้นเองที่บริษัท Racine Confectionary Machine Company ได้ผลิตเครื่องจักรผลิตอมยิ้มได้เป็นเครื่องแรกโดยสามารถผลิตได้ถึง 2400 ชิ้นต่อชั่วโมงเลยทีเดียว
จนถึงปัจจุบันอมยิ้มกลายเป็นขนมหวานยอดฮิตของเด็กๆ ด้วยสีสัน รสชาติ รูปทรงที่หลากหลาย สำหรับผู้ใหญ่อมยิ้มก็ทำให้นึกถึกความสนุกสนานได้เป็นอย่างดี น่าจะลองมีเก็บไว้อมสักอันใช่มั้ยนะ
อมยิ้มอันแรกนั้นตาม National Confectionary Association คาดว่าเกิดจากคนถ้ำที่ใช้แท่งเก็บรวมน้ำผึ้ง โดยไม่ต้องการทิ้งน้ำผึ้งไป และชอบใช้วิธีการเลียภาชนะ นั่นจึงทำให้ก้อนลูกอมติดบนแท่งถือกำเนิดขึ้น
ตามรายงานบอกว่าชาวอาหรับ จีนและอียิปต์โบราณรู้จักวิธีการนำผลไม้และถั่วมาเคลือบน้ำผึ้ง ที่เรียกว่า "candied" เพื่อเป็นถนอมผลไม้ไว้กินได้นานๆ และแท่งไม้ก็เริ่มมีส่วนในการช่วยให้การกินง่ายขึ้นนั่นเอง
ในยุคกลางของยุโรปน้ำตาลมีคุณค่าและราคาแพงเพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้จึงมีการต้มน้ำตาลและทำให้อยู่ในรูปก้อนแข็ง และทำให้ง่ายในการกินและดูหรูหราโดยการเสียบเป็นแท่ง จนถึงในศตวรรตที่ 17 ที่น้ำตาลมีเยอะและหาได้ง่าย มีการนำน้ำผลไม้มาผลิตเป็นลูกอม เจ้าของ McAviney Candy Company พยายามที่นำลูกอมแข็งๆ ติดกับแท่งไม้เพื่อให้ลูกของเขา
ในปี 1908 George Smith ได้ให้ชื่อลูกอมแข็งๆติดกับแท่งไม้ว่า" Lollipop" และได้รับความชื่นชอบ ในปีเดียวกันนั้นเองที่บริษัท Racine Confectionary Machine Company ได้ผลิตเครื่องจักรผลิตอมยิ้มได้เป็นเครื่องแรกโดยสามารถผลิตได้ถึง 2400 ชิ้นต่อชั่วโมงเลยทีเดียว
จนถึงปัจจุบันอมยิ้มกลายเป็นขนมหวานยอดฮิตของเด็กๆ ด้วยสีสัน รสชาติ รูปทรงที่หลากหลาย สำหรับผู้ใหญ่อมยิ้มก็ทำให้นึกถึกความสนุกสนานได้เป็นอย่างดี น่าจะลองมีเก็บไว้อมสักอันใช่มั้ยนะ
วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553
Ice-crem ประวัติของทานเล่นแสนอร่อย
ประวัติไอศกรีม จุดเริ่มต้นของไอศกรีมในระดับสากล นายโทมัส อาร์ควินนี่ เล่าว่า การรับประทานไอศกรีมน่าจะเริ่มต้นกันมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโรห์ แห่งอนาจักรโรมันที่ได้พระราชทานเลี้ยงไอศกรีมแก่เหล่าทหารหาญที่อยู่ในกองทัพของพระองค์ แต่ในขณะนั้นไอศกรีมเกิดจากเป็นการนำหิมะมาผสมเข้ากับน้ำผึ้งและผลไม้ ต่อมาเรียกไอศกรีมประเภทนี้ว่า เชอร์เบ็ท(Sherbet)นั่นเอง แต่ตำนานนี้ก็หาได้เป็นแค่ตำนานเดียวที่เล่าสืบต่อกันมาถึงต้นกำเนิดของไอศกรีมไม่ หากแต่บางกระแสก็ระบุว่าบรรพชนของคนจีนค้นพบไอศกรีมเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 4,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งลักษณะของไอศกรีมในประเทศจีนทำมาจากข้าวบดผสมกับนมสดที่เย็นจนเป็นนำแข็งและได้มีการสอนให้ทำไอศกรีมให้กับคนอินเดียและชาวเปอร์เชียอีกด้วย การก่อกำเนิดไอศกรีมตามตำนานประเทศจีนระบุว่า เป็นเรื่องของความบังเอิญแท้ๆ ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศจีนในสมัยนั้นเพิ่งจะมีการรู้จักรีดนมจากสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในฟาร์ม เมื่อรีดออกมาจำนวนมากก็บริโภคไม่หมด ประกอบกับน้ำนมเป็นสินค้าที่มีราคาแพงมากๆ คนชั้นสูงเห็นท่าไม่ดีจึงเกิดแนวคิดนำน้ำนมไปหมกซ่อนไว้ในหิมะนัยว่าเพื่อต้องการที่จะถนอมน้ำนมเอาไว้รับประทานได้ เล่ากันว่า"ไอศครีม"มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนในต่างประเทศ ทั้งนี้ได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะใช้รับประทานกันแต่ภายในวังเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไอศกรีมเป็นอาหารหวานที่ทันสมัยหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหมาก็ว่าได้ ใครได้ลองรับประทานไอศกรีมในสมัยนั้นก็ถือว่า เป็นคนที่ก้าวล้ำนำสมัยไปโดยปริยาย สืบสาวต้นกำเนิดไอศกรีมยุคโบราณ จุดเริ่มต้นของไอศกรีมในระดับสากล นายโทมัส อาร์ควินนี่ เล่าว่า การรับประทานไอศกรีมน่าจะเริ่มต้นกันมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโรห์ แห่งอนาจักรโรมันที่ได้พระราชทานเลี้ยงไอศกรีมแก่เหล่าทหารหาญที่อยู่ในกองทัพของพระองค์ แต่ในขณะนั้นไอศกรีมเกิดจากเป็นการนำหิมะมาผสมเข้ากับน้ำผึ้งและผลไม้ ต่อมาเรียกไอศกรีมประเภทนี้ว่า เชอร์เบ็ท(Sherbet)นั่นเอง แต่ตำนานนี้ก็หาได้เป็นแค่ตำนานเดียวที่เล่าสืบต่อกันมาถึงต้นกำเนิดของไอศกรีมไม่ หากแต่บางกระแสก็ระบุว่าบรรพชนของคนจีนค้นพบไอศกรีมเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 4,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งลักษณะของไอศกรีมในประเทศจีนทำมาจากข้าวบดผสมกับนมสดที่เย็นจนเป็นนำแข็งและได้มีการสอนให้ทำไอศกรีมให้กับคนอินเดียและชาวเปอร์เชียอีกด้วย การก่อกำเนิดไอศกรีมตามตำนานประเทศจีนระบุว่า เป็นเรื่องของความบังเอิญแท้ๆ ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศจีนในสมัยนั้นเพิ่งจะมีการรู้จักรีดนมจากสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในฟาร์ม เมื่อรีดออกมาจำนวนมากก็บริโภคไม่หมด ประกอบกับน้ำนมเป็นสินค้าที่มีราคาแพงมากๆ คนชั้นสูงเห็นท่าไม่ดีจึงเกิดแนวคิดนำน้ำนมไปหมกซ่อนไว้ในหิมะนัยว่าเพื่อต้องการที่จะถนอมน้ำนมเอาไว้รับประทานได้นานๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)